วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่13 จริยธรรมและความปลอดภัย
1.จริยธรรมที่มุ่งเน้นความเป็นส่วนตัว (information privacy) เกี่ยวข้องกับข้อมูลอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. เกี่ยวข้องกับสิทธิและข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งาน เช่น พฤติกรรมการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตของนัก ท่องเว็บคนหนึ่ง อาจถูกติดตามหรือเฝ้าดูกิจกรรมที่ทำอยู่เพื่อเอาข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์อื่น หรือมีการเอาฐานข้อมูลส่วนตัวรวมถึงอีเมล์ของสมาชิกผู้ใช้งานบนเครือข่ายส่งไปให้กับบริษัท ผู้รับทำโฆษณาออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์หาลูกค้ากลุ่มเป้าหมายว่าผู้ใช้รายใดเหมาะกับกลุ่มสินค้าที่จะโฆษณาประเภทไหนมากที่สุด จากนั้นจะจัดส่งโฆษณาไปให้ผ่านอีเมล์เพื่อนำเสนอขายสินค้าต่อไป
2.จริยธรรมกับกฎระเบียบเกี่ยวข้องกันอย่างไร จงอธิบาย พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. จริยธรรมไม่ใช่ข้อบังคับหรือกฎที่จะมีบทลงโทษตายตัว เป็นเหมือนสามัญสำนึกหรือความประพฤติปฏิบัติต่อสังคมในทางที่ดี และขึ้นอยู่กับกลุ่มสังคมหรือการยอมรับในสังคมนั้นๆเป็นหลักกล่าวคือจะเกี่ยวข้องกับการคิดและตัดสินใจได้เองว่าสิ่งไหน ควร-ไม่ควร ดี-ไม่ดี ถูก-ผิด เป็นต้น ส่วนกฎระเบียบถือเป็นข้อห้าม โดยมีกรอบหรือรูปแบบที่ชี้ชัดลงไปอย่างชัดเจนหากทำผิดแล้วอาจต้องมีบทลงโทษตามไปด้วยจริยธรรมอาจเป็นบรรทัดฐานเพื่อสร้างกฎระเบียบที่ควรประพฤติปฏิบัติในสังคมร่วมกันได้โดยมีบทลงโทษหรือวางแนวทางไว้อย่างชัดเจน
3.จงยกตัวอย่างของอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่างพร้อมทั้งหาวิธีป้องกันและแก้ไข โดยอธิบายประกอบ
ตอบ. ตัวอย่างเช่น การก่อกวนระบบด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์หนอนอินเทอร์เน็ต หรือการใช้สปายแวร์บางประเภทเพื่อติดตามข้อมูลของผู้ใช้ ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสียหายหรือเกิดความรำคาญในการใช้งานได้วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือ ควรติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ในเครื่องที่ใช้งานด้วยเพื่อคอยเฝ้าระวังไวรัสพวกนั้นเข้ามาทำร้ายเครื่องของเรา
4.การหลอกลวงเหยื่อแบบ Phishing มีลักษณะอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. เป็นการหลอกเอาข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานที่สำคัญๆ เช่น รายละเอียดหมายเลขบัตรเครดิตชื่อผู้ใช้หรือรหัสผ่านในการทำธุรกรรมบนอินเทอร์เน็ต โดยส่งอีเมล์หลอกไปยังสมาชิกหรือผู้ใช้บริการตัวจริงเพื่อขอข้อมูลบางอย่างที่จำเป็น โดยใช้คำกล่าวอ้างที่เขียนขึ้นมาเอง พร้อมทั้งแจ้งURL ที่ต้องกรอกข้อมูลโดยมีปลายทางคือหน้าเว็บเพจที่ทำเลียนแบบกับระบบจริงให้เหยื่อตายใจเพื่อกรอกข้อมูลและหลงเชื่อในที่สุด ซึ่งจริงๆแล้วคือ URL ของผู้ไม่ประสงค์ดีที่นั่นเอง เมื่อผู้ใช้ขาดความรอบคอบและเผลอคลิกป้อนข้อมูลส่วนตัวเข้าไป เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ข้อมูลดังกล่าวก็จะถูกเก็บไว้และเอาไปใช้ในทางที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อสมาชิกผู้นั้นได้
5.BSA จัดตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใด และเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้านใดมากที่สุด จงอธิบาย
ตอบ. เพื่อเป็นการควบคุมและดูแลเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์รวมถึงการทำความเข้าใจกับผู้บริโภคให้ตะหนักถึงการใช้งานของโปรแกรมที่ถูกต้องและไม่ผิดกฎหมาย เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ด้านการขโมยโปรแกรมหรือ software theft ซึ่งบริษัทใหญ่ผู้ผลิตขนาดใหญ่ได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากจึงมีการรวมตัวขึ้นเพื่อตั้งเป็นหน่วยงานกำกับและดูแลโดยเฉพาะเรียกว่า BSAหรือ business software alliance
6.ข้อปฏิบัติที่ควรต้องทำในการป้องกันไวรัส มีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาอย่างน้อย 5 ประการ
ตอบ. สิ่งที่ควรทำในการป้องกันไวรัส ยกตัวอย่างได้ดังนี้
- ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไว้ในเครื่อง เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบและเฝ้าระวังไวรัสที่จะเกิดขึ้นใหม่ สามารถติดตั้งโปรแกรมเหล่านี้ไว้ได้ ซึ่งช่วยลดปัญหาต่างๆลงไปได้มากและบางตัวสามารถที่จะกำจัดหรือซ่อมแซมไฟล์ที่เสียหายได้ด้วย
- ไม่รับหรือเปิดอ่านไฟล์ที่แนบมากับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จากรายชื่อคนติดต่อแปลกหน้าบางทีอาจมีไวรัสที่แพร่กระจายมาทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ด้วย ไม่ควรจะกดหรือเปิดอ่านไฟล์ที่แนบมากับจดหมาย เนื่องจากอาจเป็นโปรแกรมประสงค์ดีที่จะมาก่อกวนระบบของเราเอง หากไม่คุ้นควรลบทิ้งเสีย
- ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสใหม่ๆอยู่เสมอในการติดตามและเฝ้าระวังเกี่ยวกับไวรัส ผู้ใช้งานควรศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสสายพันธ์ใหม่ๆที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เพื่อให้ทราบถึงการป้องกันและความรุนแรงของมันได้
- ควรดาวน์โหลดข้อมูลหรือไฟล์จากเว็บไซท์ที่น่าเชื่อถือเนื่องจากอาจมีโปรแกรมหรือไฟล์ที่แฝงตัวในรูปของโปรแกรมประสงค์ร้ายพ่วงมาให้ใช้ด้วยนั่นเอง
- ไม่ควรแชร์หรือแบ่งปันไฟล์ในเครื่องให้กับผู้อื่นเกินความจำเป็นเนื่องจากอาจะเป็นช่องโหว่ให้ผู้ไม่ประสงค์ดีลักลอบเอาโปรแกรมบางอย่างมาก่อกวนได้หากต้องการแบ่งปันหรือแชร์ไฟล์ ควรมีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงอย่างชัดเจน
7.การสำรองข้อมูลคืออะไร สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ. การทำซ้ำข้อมูล ที่มีอยู่ในพื้นที่เก็บข้อมูล ประโยชน์คือ เราสามารถเอาข้อมูลต่างๆเหล่านั้นกลับมาใช้ได้อีกเมื่อข้อมูลต้นฉบับเกิดเสียหาย เช่น ฮาร์ดดิสก์เสียหรือถูกไวรัสคอมพิวเตอร์หากไม่มีการสำรองข้อมูลก็จะเกิดผลเสียตามมาได้วิธีการสำรองข้อมูลอาจทำทั้งระบบหรือเพียงแค่บางส่วน โดยเลือกใช้โปรแกรมยูทิลิตี้บางประเภทเพื่อสำรองข้อมูลเก็บลงสื่อบางประเภท เช่น ฮาร์ดดิสก์หรือซีดีรอมทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด
8.การป้องกันการทำซ้ำหรือละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. วิธีป้องกันการทำซ้ำ อาจบันทึกข้อมูลซีดีซอฟท์แวร์แบบพิเศษ ซึ่งอาจใช้การเข้ารหัสข้อมูลบางอย่างเพื่อไม่ให้สามารถทำซ้ำได้โดยง่าย มีการใช้ serial number ซึ่งเป็นอักขระที่ต้องป้อนก่อนการใช้งาน รวมถึงกำหนดสิทธิต่าง ๆ เช่น กำหนดว่าจะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ได้กี่เครื่องหากเกินกว่านั้นจะไม่สามารถใช้ได้ เป็นต้น
9.แฮกเกอร์และแครกเกอร์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. แฮกเกอร์จะแอบลักลอบเข้าไปดูข้อมูลของผู้อื่น เพียงเพื่อทดสอบความรู้ของตนเองเท่านั้นโดยเจตนาแล้วไม่ได้มุ่งร้ายต่อข้อมูลแต่อย่างใด ส่วนแครกเกอร์จะมีเจตนาที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิงซึ่งจะสร้างความเสียหายที่รุนแรงกว่า แฮกเกอร์บางคนอาจเข้าไปหาจุดบกพร่องต่างๆของระบบเครือข่ายแล้วทำการแจ้งให้กับผู้ดูแลระบบด้วยว่า ระบบเครือข่ายนั้นบกพร่องและควรแก้ไขข้อมูลส่วนใดบ้าง แต่แครกเกอร์อาจนำเอาข้อมูลที่พบนั้นไปแก้ไข เพื่อจงใจให้เกิดความเสียหายโดยตรง ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลุ่มบุคคลที่มีความร้ายแรงมากในยุคปัจจุบัน
10.ท่านคิดว่ากรณีที่มีการนำภาพลับเฉพาะของดาราและนำไปเผยแพร่บนเว็บไซท์นั้น ผู้กระทำขาดจริยธรรมในด้านใด จงอธิบายพร้อมทั้งให้เหตุผลประกอบ
ตอบ. ถือเป็นการกระทำที่ขาดจริยธรรมด้านความเป็นส่วนตัวได้ เนื่องจากผู้ที่โดนกระทำคือดารา ถูกละเมิดสิทธิโดยตรงซึ่งผู้เสียหายอาจไม่ต้องการให้นำภาพดังกล่าวออกเผยแพร่สู่สาธารณะชนได้ แต่กลับมีบุคคลบางกลุ่มนำออกมาโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการนำเสนอข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่แพร่กระจายข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งส่งผลเสียแก่ดาราดังกล่าวได้ซึ่งอาจนำมาสู่การฟ้องร้องและเป็นคดีความตามมาได้นั่นเอง
อ้างอิง: http://science.yru.ac.th/~ppb/Computer_and_Information_Technology/chapter_04/key_chapter04.pdf
สรุปท้ายบทที่13 เรื่องจริยธรรมและความปลอดภัย
จริยธรรมเป็นแบบแผนความประพฤติหรือความมีสามัญสำนึกต่อสังคมในทางที่ดี เมื่อกล่าวถึงจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับสังคมยุคสารสนเทศ จะเกี่ยวข้องกับกรอบแนวคิดที่ตั้งอยู่บนพื้นฐาน 4 ประการคือ ความเป็นส่วนตัว ความถูกต้องแม่นยำ ความเป็นเจ้าของ และการเข้าถึงข้อมูล
อาชญากรรมคอมพิวเตอร์เป็นอีกกรณีหนึ่งที่พบเห็นได้ โดยนอกจะเป็นการกระทำที่”ขาดจริยธรรม”แล้ ยังถือว่าผิดกฎหมายด้วย การก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์มีหลายรูปแบบ เช่น การลักลอบเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต การขโมยและทำลายอุปกรณ์ การขโมยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การก่อกวนด้วยโปรแกรมประสงค์ร้าย เป็นต้น วิธีการป้องกันและรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์อาจทำได้หลายแบบ เช่น การติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัส การใช้ระบบไฟร์วอลล์ การเข้ารหัสข้อมูล และการสำรองข้อมูลเป็นต้น

อ้างอิง: หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบฝึกหัดท้ายบทที่12 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ที่นิยมใช้ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีช่องทางใดบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบมาอย่างน้อย 3 ช่องทาง
ตอบ. ช่องทางที่พบได้ในการนำมาใช้ทางการค้าแบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พอยกตัวอย่างได้ดังนี้
- ระบบโทรศัพท์บ้าน ตัวอย่างที่พบเห็นมากที่สุดคือ บริการหมายเลข 1900 ขององค์การโทรศัพท์ที่ผู้ให้บริการจะแจ้งเบอร์หรือหมายเลขให้กับลูกค้าที่ต้องการเข้าร่วมกิจกรรมผ่านโทรศัพท์ได้โดยตรง
- ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ถือว่าเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กันโดยผู้ใช้สามารถเลือกทำรายการสั่งซื้อสินค้าหรือบริการผ่านมือถือได้ด้วยตนเอง เช่น จองตั๋วภาพยนตร์หรือดาวน์โหลดริงโทนหรือโลโก้มือถือต่างๆ
- ระบบอินเทอร์เน็ต เป็นช่องทางการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นได้มากโดยเจ้าของร้านหรือบริษัท ผู้ผลิตจะทำเว็บไซท์เพื่อจำหน่ายสินค้าและให้ลูกค้าเลือกซื้อบนหน้าเว็บนั้นๆได้เลยทันทีลูกค้าสามารถทำรายการซื้อขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น
2.จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบ B2C พร้อมยกตัวอย่างประกอบอย่างน้อย 3 เว็บไซท์
ตอบ. ร้านค้าหรือบริษัทจะเปิดเว็บไซท์ที่มีรูปแบบร้านค้าเสมือนจริง (virtual store-front) เพื่อให้ลูกค้า เข้ามาเลือกซื้อได้ด้วยตนเองเสมือนว่าได้เดินเข้ามายังร้านค้านั้นจริงๆ เมื่อพอใจหรือเลือกสินค้า เสร็จก็สามารถชำระเงินได้ทันที โดยมากมักเป็นสินค้าประเภทการจองที่พักโรงแรม การจองตั๋ว เครื่องบินโดยสารการซื้อขายสินค้าอุปโภคบริโภคอื่นๆเป็นต้น ตัวอย่างของเว็บไซท์เหล่านี้ เช่น
- www.kwangham.com
- www.hammax.com,www.toesu.com
- www.pamanthai.com
3.การประมูลสินค้าออนไลน์ จัดอยู่ในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แบบใด จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ. แบบผู้บริโภคกับผู้บริโภคหรือ C2C เนื่องจากเป็นการซื้อขายสินค้าที่ผู้บริโภคด้วยกันเอง นำเอาสินค้าที่ต้องการประมูลมาเสนอหรือติดต่อเพื่อทำการค้าเองโดยตรง โดยปิดประกาศประมูลสินค้ากับเว็บไซท์ผู้ให้บริการเมื่อตกลงในรายละเอียดสินค้าและวิธีการชำระเงินก็สามารถจัด ส่งของให้กับผู้ที่ชนะประมูลได้ทันที
4.วัตถุประสงค์ของ E-Government คืออะไร แตกต่างจากพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างบริการที่นักศึกษารู้จักมาอย่างน้อย 2 ตัวอย่าง
ตอบ. รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์หรือ electronic government เป็นการบริการของภาครัฐที่นำเสนอการให้ บริการกับประชาชนผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนใช้เป็นแหล่งข้อมูลกลางสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองไม่ได้มุ่งเน้นหรือแสวงหากำ ไรเหมือน กับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รูปแบบอื่นๆ ที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น
- ระบบประตูสู่การบริการภาครัฐหรือ TGW (thailand gateway)
- บริการเสียภาษีของกรมสรรพากรผ่านเว็บไซท์
- ระบบการตรวจสอบข้อมูลการเลือกตั้ง

5.Shopping cart คืออะไร จงอธิบายลักษณะการทำงานพอสังเขป
ตอบ. โปรแกรมบนเว็บที่เขียนขึ้นเสมือนเป็นรถเข็นสินค้าจริงที่จัดไว้ให้ลูกค้าเลือกใช้งาน หากอยากได้สินค้าชิ้นใด ลูกค้าสามารถคลิกเลือกกดปุ่มเพื่อจับใส่เข้าไปในรถเข็นนั้นได้จนกว่าจะพอใจแล้วทำการยืนยันการชำระเงินเพื่อออกจากระบบได้ เหมือนกับที่ไปเลือกซื้อสินค้าในซุปเปอร์มาร์เก็ตเมื่อเลือกและหยิบใส่รถเข็นจนพอใจแล้ว จึงค่อยมาชำระเงินตรงทางออก เป็นต้น
6.นักศึกษาคิดว่า เหตุใดจึงต้องมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบัตรเครดิตที่ใช้จ่ายผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยและจะใช้วิธีอะไรได้บ้าง
ตอบ. เนื่องจากในระหว่างการทำธุรกรรมโดยใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตบนอินเทอร์เน็ตนั้น อาจมีผู้ไม่ประสงค์ดีลักลอบเอาข้อมูลไปใช้ให้เกิดความเสียหายกับเจ้าของบัตรได้ โดยเฉพาะกับข้อมู ที่สำคัญๆหากไม่มีการป้องกันที่ดีพอ อาจทำให้ลูกค้าไม่มั่นใจที่จะทำรายการซื้อขายผ่านเว็บไซท์นั้นๆได้ ผู้ขายหรือเจ้าของเว็บไซท์เอง จึงควรมีวิธีการป้องกันที่ดีพอโดยเลือกการเข้ารหัสข้อมูล ที่ได้รับความนิยมและน่าเชื่อถือ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและทำให้ลูกค้ามั่นใจได้ว่ามีความปลอด ภัยในระดับหนึ่ง ซึ่งข้อมูลทุกอย่างที่ทำธุรกรรมจะมีการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะส่งข้อมูลไปบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ยากต่อการแกะหรือถอดข้อมูลมากยิ่งขึ้น เป็นต้น
7.จงอธิบายลักษณะสินค้าแบบ hard goods และแบบ soft goods มาพอเข้าใจ
ตอบ. แบบ hard goods จะเป็นสินค้าที่สามารถจับต้องได้ และต้องจัดส่งสินค้าโดยการใช้บริกาของผู้ให้บริการขนส่งไปรษณีย์หรือพัสดุ แต่สินค้าแบบ soft goods มักเป็นสินค้าที่ไม่สามารถจับต้องได้และโดยมากมักอยู่ในรูปแบบดิจิตอลเช่น เพลง ภาพยนตร์ ซอฟท์แวร์ โลโก้หรือริงโทนมือถือ เป็นต้น
8. ท่านคิดว่าบริการหลังการขาย มีความจำเป็นหรือไม่อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. มีความจำเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า ทำให้เกิดการซื้อสินค้าหรือบริการซ้ำและแนะนำบอกต่อไปอีก มักนำไปใช้กับสินค้าที่มีการใช้งานยุ่งยาก ซับซ้อนหรือไม่สามารถเข้าใจได้ทันที โดยมีผู้ชำนาญการหรือเจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์ บางบริษัทอาจมีศูนย์ช่วยเหลือลูกค้ามาช่วยในการดูแลลูกค้าหลังการขายสินค้าไปแล้ว
9.จงยกตัวอย่างวิธีการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มาอย่างน้อย 2 ตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบ
ตอบ. ตัวอย่างการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต เช่น
- ชำระด้วยบัตรเครดิต เป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในขณะนี้ ผู้ใช้เพียงแค่ป้อนชื่อเจ้าของบัตร หมายเลขบัตรวันหมดอายุและรหัสบัตรส่วนที่อยู่ด้านหลัง ลงในแบบฟอร์มของทางร้านค้าหรือผู้ให้ บริการรับชำระเงินบนแบบฟอร์มที่เตรียมไว้ให้ แล้วทำการยืนยันการชำระเงินก็สามารถจ่ายชำระค่าสินค้าหรือบริการได้ทันที
- ชำระด้วยเงินสดดิจิตอล เป็นวิธีการที่นำมาทดแทนการชำระเงินด้วยบัตรเครดิต โดยต้องจ่ายเงินจริงสำรองไปก่อน เพื่อแลกกับมูลค่าวงเงินที่จะใช้สำหรับซื้อสินค้า เมื่อต้องการจ่ายเงินก็สามารถจ่ายเงิน ตามวงเงินที่เหลือได้พอหมดก็ค่อยไปซื้อมูลค่าวงเงินนี้ใหม่
10. สินค้าประเภทซอฟต์แวร์มีวิธีการส่งมอบได้อย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. นิยมให้ลูกค้าทำการดาวน์โหลดได้เลย ซึ่งอาจมีการจำกัดหรือวางเงื่อนไขในการดาวน์โหลดได้เช่น จำกัดจำนวนครั้ง จำนวนวันหรือจำกัดทั้งสองรูปแบบ โดยใส่รหัสผ่านที่ได้รับจากผู้ขาย ปกติจะพยายามทำให้ขนาดไฟล์ดิจิตอลเหล่านี้มีขนาดที่เล็กลง โดยใช้โปรแกรมบีบอัดไฟล์ บางประเภทหรือปรับขนาดให้เล็กลงเมื่อเป็นไฟล์เพลงหรือไฟล์เสียง เช่น อยู่ในรูปแบบของMP3เป็นต้น นอกจากนั้นอาจให้ลูกค้าเลือกได้ว่าจะดาวน์โหลดด้วยการเชื่อมต่อด้วยความ
เร็วแบบใด เป็นต้น

อ้างอิง: http://science.yru.ac.th/~ppb/Computer_and_Information_Technology/chapter_04/key_chapter04.pdf
สรุปท้ายบทที่12 เรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการทำธุรกรรมซื้อ-ขาย แลกเปลี่ยน สินค้าหรือบริการระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผ่านช่องทางการจำหน่ายด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งแต่เดิมจะใช้ระบบ EDI หรือระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้คู่ค้าทั้งสองฝ่ายแลกเปลี่ยนเอกสารทางการค้าได้โดยตรง แต่ก็มีความนิยมค่อนข้างน้อยเพราะมีค่าใช้จ่ายในการวางระบบและดำเนินงานสูง ซึ่งมีใช้เฉพาะในวงการอุตสาหกรรมบางกลุ่มหรือการค้าเฉพาะทางเท่านั้น จนกระทั่งอินเทอร์เน็ตมีการใช้งานแพร่หลาย การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์จึงกลายมาเป็นการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ตแทน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ากันมาก
รูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์ที่พบเห็นมากที่สุด สามารถแยกออกได้ 3 รูปแบบคือ ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B),ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (C2C), และธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) สำหรับขั้นตอนการค้านั้นประกอบด้วย การออกแบบและจัดทำเว็บไซต์ การโฆษณาเผยแพร่ข้อมูล การทำรายการซื้อขาย การส่งมอบสินค้า และการให้บริการหลังการขาย

อ้างอิง: หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบฝึกหัดท้ายบทที่11 เทคโนโลยีสารสนเทศ
1.จงยกตัวอย่างระบบสารสนเทศที่นักศึกษาพบเห็นในชีวิตประจำวันมาอย่างน้อย 5 ระบบ
ตอบ. 1.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
1.2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
1.3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
1.4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนาคาร
1.5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ
2.สื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คืออะไร เราสามารถนำเอาสื่อผสมไปใช้ประโยชน์ด้านใดได้บ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบายประกอบ
ตอบ. สื่อที่ประกอบด้วยสารสนเทศที่อาจอยู่ในรูปแบบของตัวอัีกษร ภาพกราฟิก เสียง ภาพนิ่ง รวมถึงภาพเคลื่อนไหวต่างๆ โดยนำมาจัดไว้รวมกันเพื่อให้เกิดความน่าสนใจกับผู้ที่เรียกใช้สื่อ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมาก เช่น การสร้างวิดีทัศน์เพื่อเผยแพร่ทั่วไป เป็นต้น

3.เทคโนโลยีสารสนเทศคืออะไร เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ. การประยุกต์เอาความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสารประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเราสามารถใช้ได้แทบจะทุกแขนง เช่น ด้านการศึกษาที่ลดปัญหาทางด้านเวลาและระยะทางในการเรียนได้ โดยจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ตามชุมชนที่อาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือ ฯลฯ
4.DAISY มีประโยชน์อย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
ตอบ. digital accessible information system หรือ DAISY เป็นระบบหนังสือที่มีการบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบเสียงเพื่อให้ประโยชน์สำหรับคนตาบอดสามารถอ่านหนังสือได้ โดยสามารถค้นอ่านข้อมูลในหนังสือได้อย่างรวดเร็ว หรือเลือกแบบก้าวกระโดดไปยังส่วนต่างๆของหนังสือได้ เป็นต้น
5.เครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกกิจของในหลวงและข้อมูลอื่นๆเกี่ยวกับประเทศไทยคือเครือข่ายใดหน่วยงานใดที่ดูแลรับผิดชอบเครือข่ายนี้
ตอบ. เครือข่ายกาญจนาภิเษกหรือ KPNet จะเกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ที่ประกอบด้วยงานหลักสองส่วนคือ เครือข่ายพระราชกรณียกกิจและเครือข่ายกระจายความรู้ให้กับประชาชน โดยมีศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติหรือเนคเทคเป็นผู้ดูแลและรับผิดชอบเครือข่ายนี้
6 .จงยกตัวอย่างของการประมวลผลแบบ real time มาอย่างน้อย 1 ตัวอย่างพร้อมอธิบาย
ตอบ. การฝาก-ถอนเงินสดกับเครื่องให้บริการของธนาคารพาณิชย์ หากลูกค้าทำธุรกรรมนั้นเสร็จสิ้นยอดเงินคงเหลือต่างๆในบัญชีที่มีอยู่จะทำการปรับปรุงเป็นยอดปัจจุบันทันที
7. Knowledge-based Economy คือรูปแบบของสังคมแบบใด จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
ตอบ. รูปแบบของสังคมที่มุ่งเน้นให้เกิดภูมิปัญญาหรือความรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ เพื่อให้เศรษฐกิจมีความเข้มแข็งที่ยั่งยืน สามารถแข่งขันได้ในเวทีสากล ขณะเดียวกันก็เพื่อให้ประชาชนในสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเหลื่อมล้ำน้อยที่สุด
8.สาระสำคัญที่อยู่ในกรอบ IT2010 ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ (e- Government)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรม (e-Industry)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศใน ภาคการพาณิชย์ (e-Commerce)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการศึกษา (e-Education)
การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศในภาคสังคม (e-Society)
9. ประโยชน์ของ Geographic Information System มีอะไรบ้าง
ตอบ. ช่วยให้การจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถจัดการกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก ที่รวบรวมจากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมืองประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา หรือการพยากรณ์อากาศ เป็นต้น
ตอบ. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาครัฐ (e- Government)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคอุตสาหกรรม (e-Industry)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศใน ภาคการพาณิชย์ (e-Commerce)
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศในภาคการศึกษา (e-Education)
การพัฒนาเทคโนโลยี สารสนเทศในภาคสังคม (e-Society)
10. Telemedicine คืออะไร
ตอบ. การแพทย์ทางไกล ที่นำเอาความก้าวหน้าทางด้านการสื่อสารโทรคมนาคมมาประยุกต์ใช้กับงานด้านการแพทย์โดยตรง โดยใช้การส่งสัญญาณผ่านสื่อโทรคมนาคมอันทันสมัย โดยแพทย์ต้นทางและปลายทางสามารถติดต่อกันได้ด้วยภาพเคลื่อนไหวและเสียง รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนไข้ระหว่างหน่วยงานได้ เช่น ฟิล์มเอกซเรย์และสัญญาณเสียงจากเครื่องมือแพทย์ เช่น การเต้นของหัวใจเสมือนว่าคนไข้อยู่ในห้องเดียวกัน เป็นต้น
อ้างอิง: http://il253-taweesin.blogspot.com/
สรุปท้ายบทที่11 เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยี คือ การเอาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาพัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่เพื่อประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นอีกหนึ่งแขนงของวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งต้องอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ เช่น คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อจัดการกับสารสนเทศที่ต้องการ
ระบบสารสนทศ ที่นำเครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาจัดการข้อมูลในองค์กร ซึ่งมีผู้ใช้ 3 ระดับคือ ระดับสูงซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุด ระดับกลางซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคลากรในระดับบริหารและการจัดการ เช่น หัวหน้าแผนก หรือหัวหน้าฝ่าย และกลุ่มสุดท้ายคือผู้ใช้ปฏิบัติการ ซึ่งได้แก่ กลุ่มปฏิบัติงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศได้หลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม ฯลฯ สำหรับประเทศไทยเองได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ โดยได้วางกรอยนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ IT2010 ขึ้น โยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ “การสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้”

อ้างอิง: หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 10 เครือข่ายอินเตอร์เน็ต
1. Internet Service Provider คืออะไร มีบทบาทเกี่ยวข้องอย่างไรกับอินเทอร์เน็ต
ตอบ. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่เสมือนเป็นประตูเปิดการเชื่อมต่อให้กับบุคคลหรือองค์กรสามารถใช้งานอินเทอร์เน็ต มีชื่อย่อว่า ISP โดยจะมีการเรียกเก็บค่าบริการทั้งแบบรายเดือนหรือแบบรายชั่วโมงสำหรับการเชื่อมต่อดังกล่าว ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตจำเป็นต้องเชื่อมต่อเครือข่ายของตนเองเข้ากับISP ก่อนทุกครั้งเมื่อต้องการใช้งานอินเทอร์เน็ต
2. จงสรุปความหมายของอินเทอร์เน็ต มาพอเข้าใจ
ตอบ. อินเทอร์เน็ต คือ เครือข่ายที่มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั้งโลกเข้าไว้ด้วยกัน เปรียบเสมือนเครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงทั่วถึงกันหมด นิยมใช้สำหรับการค้นหาและเผยแพร่ข้อมูลที่ต้องการปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย
3. เว็บเพจ และ เว็บไซท์ เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ. เว็บเพจ คือหน้าเอกสารที่นำเสนอบนเว็บ มักเขียนด้วยภาษาที่เขียนบนเว็บโดยเฉพาะที่เรียกว่า HTML ซึ่งอาจจะเขียนขึ้นด้วยเครื่องมือช่วยเว็บบางตัวหรือถูกแปลงและให้แสดงผลด้วยภาษาคอมพิวเตอร์บนเว็บบางชนิด โปรแกรมที่ช่วยเขียนได้เช่น Dreamweaver,Frontpage,Golive เว็บไซท์ คือ แหล่งรวบรวมเอกสารเว็บเพจทั้งหลายให้รวมอยู่ในแหล่งเดียวกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกค้นข้อมูลได้ อาจกล่าวได้ว่าเอกสารเว็บเพจหลายๆหน้าที่เก็บไว้รวมกันไว้ที่เดียวกัน
4. จงยกตัวอย่างของบริการบนอินเทอร์เน็ตที่นักศึกษาใช้มาอย่างน้อย 2 บริการ
ตอบ. บริการ Chat- เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยสามารถพูดคุยกันสดๆ ระหว่างคนรู้จักในหมู่เพื่อนฟูงหรือคนที่ไม่เคยรู้จักรกันมากก่อน โดยมีเพียงที่อยู่อีเมลก็สามารถติดต่อกันได้แล้วสามารถรับ-ส่งไฟล์ต่างๆได้อีกด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้กันอยู่ในปัจจุบันก็คือโปรแกรม MSN
บริการโหลดเพลงผ่านอินเทอร์เน็ต
- สามารถหาเพลงที่เราอยากฟัง ฟังได้อย่างง่ายดาย แค่เพียงเข้าเว็บบร์อดหรือกระทู้ที่มีการแชร์ไฟล์เพลงไว้แล้ว ก็สามารถคลิ๊กดาวโหลดมาฟังได้ในทันที
5. หากต้องการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต ควรทำอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอเข้าใจ
ตอบ. ผู้ใช้งานจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตเสียก่อน ที่นิยมกันเป็นอย่างมากคือผ่านอุปกรณ์ Modem ซึ่งมีอยู่หลายแบบ เช่น แบบธรรมดา แบบADSL หรือแบบไร้สายโดยต้องไปขอสมัครเป็นสมัครเป็นสมาชิกหรือเลือกซื้อบริการจาก ISP เสียก่อน ซึ่งอาจคิดราคาค่าบริการที่แตกต่างกันออกไป จากนั้นทำการเชื่อมต่อเข้าไปยัง ISP ปลายทางเพื่อขอให้เปิดการเชื่อมต่อจึงจะสามารถใช้งานได้
6. Modem คืออะไร
ตอบ. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากดิจิตอลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณอนาล็อก(Modulation) เพื่อวิ่งผ่านสื่อส่งข้อมูล เช่น สายโทรศัพท์ จากนั้นจะทำการแปลงสัญญาณกลับให้เป็นสัญญาณดิจิตอลแบบเดิม(demodulation)เมื่อข้อมูลถูกส่งไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทาง
7. เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบ DNSมาใช้เพื่ออ้างอิงถึงชื่อเครื่องของคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ตอบ. การอ้างอิงถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่บนอินเทอร์เน็ตอาจใช้หมายเลข IP addres เพื่ออ้างอิงได้แต่การเรียกใช้อาจทำให้ยุ่งยากเนื่องจากการจดจำหมายเลขดังกล่าวอาจไม่คุ้นหรือยากกว่าชื่อที-สามารถพิมพ์หรือระบุเป็นอักษรได้ตรงๆDomain Name System จึงได้ถูกนำเอามาใช้สนับสนุนให้เกิดการทำงานดังกล่าว โดยจะเป็นการแปลงชื่อโดเมนที่ผู้ใช้ฟ้อนเข้ามา ให้เป็นหมายเลข IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเพื่อดึงข้อมูลมาแสดงผลนั้นเอง การแปลงข้อมูลจะกระทำโดยเครื่อง DNS Server โดยตรง
8. โปรแกรมที่สามารถเปิดเรียกดูเอกสารบนเว็บได้ เราเรียกว่าโปรแกรมอะไร ให้นักศึกษายกตัวอย่างมาอย่างน้อย 4 โปรแกรม
ตอบ. โปรแกรมเว็บราวเซอร์ ซึ่งสามารถเรียกดูเอกสารบนเว็บไซร์ได้ ทั้งที่อยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ภาพนิ่ง เสียง วิดีโอหรืออื่นๆ ผู้ใช้งานเพียงแค่พิมพ์หรือป้อนข้อมูลโดยระบุชื่อเว็บไซร์หรือ URL ที่ถูกต้อง โปรแกรมดังกล่าวก็จะนำเอาข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่นั้นมาแสดงผลให้เห็นบนจอภาพได้ ตัวอย่างโปรแกรมที่รู้จักกันดี เช่น Internet Explorer , Nescape Communication , Opera และ Plawan เป็นต้น
อ้างอิง: http://il253-taweesin.blogspot.com/
แบบฝึกหัดท้ายบทที่9 ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
1. นักศึกษาคิดว่าเหตุใดจึงต้องนำเอาระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการทำงาน
ตอบ. เพื่อช่วยให้การทำงานมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการทำงานในองค์กรที่ประกอบด้วยหลายๆแผนก หรือมีหน่วยงานที่ต้องติดต่อร่วมกันอยู่ในพื้นที่ระยะไกล เช่น ข้ามจังหวัดหรือประเทศ การนำเอาคอมพิวเตอร์เข้ามาเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย จึงทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันทำได้ง่ายมากขึ้น ผู้ใช้งานในระบบเครือข่ายสามารถติดต่อถึงกันได้ทันที ลดข้อจำกัดเรื่องของเวลาและสถานที่ลงไปได้
2. ระบบเครือข่ายมีข้อดี ข้อเสียอย่างไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. ข้อดีคือ สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์หรือพื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ นอกจากนั้นไฟล์ข้อมูลที่จำเป็นก็สามารถเรียกใช้งานได้จากหลายๆเครื่องหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันก็ทำได้โดยง่าย ข้อเสียของระบบเครือข่ายอาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน เช่น เรียกใช้ข้อมูลได้ช้าเพราะข้อจำกัดทางสายของเครือข่ายที่ทำได้ช้ากว่าสายต่อภายในเครื่อง นอกจากนี้ยังอาจทำให้ยากต่อการควบคุมและดูแลได้เพราะมีผู้ใช้หลายคนร่วมกัน อีกทั้งข้อมูลอาจไม่สามารถใช้งานได้ทันที หากผู้ใดผู้หนึ่งเรียกใช้ข้อมูลอยู่เป็นต้น
3. สายเคเบิลที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากที่สุดคือสายชนิดใด จงบอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของสายดังกล่าว
ตอบ. สายแบบ UTP หรือแบบไม่มีฉนวนหุ้ม ได้รับความนิยมมากที่สุดเนื่องจากมีราคาถูกและติดตั้งได้
ง่าย เป็นสายขนาดเล็กคล้ายสายโทรศัพท์ มี 8 เส้นตีเกลียวกันเป็นคู่ๆ เพื่อลดสัญญาณรบกวน การเดินสายต้องต่อจากเครื่องเข้าหาอุปกรณ์รวมสายหรือ hub เท่านั้น
4. จงอธิบายวิธีการทำงานแบบ CSMA/CD ที่ใช้ในระบบเครือข่าย มาพอเข้าใจ
ตอบ. วิธีการนี้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะคอย “ฟัง” ว่าสายว่างหรือไม่ ถ้าพบว่าสายว่างก็จะเริ่มส่งสัญญาณออกมา ซึ่งถ้าสายว่างจริงข้อมูลก็จะส่งไปถึงผู้รับได้เลย แต่การเริ่มส่งสัญญาณนี้อาจเกิดขึ้นจากหลายๆสถานีพร้อมกันได้ เพราะต่างคนต่าง “ฟัง” และเข้าใจว่าสายว่างพร้อมๆกัน ผลก็คือสัญญาณที่จะได้จะชนกันในสาย ทำให้ข้อมูลใช้ไม่ได้ ดังนั้นแต่ละเครื่องจึงต้องสามารถตรวจจับการชนกันของสัญญาณได้ด้วย เมื่อเครื่องที่ส่งข้อมูลออกมาชนกัน ก็ให้หยุดส่งและรอ โดยนับถอยถอยหลังตามเวลาที่สุ่มขึ้นมาซึ่งจะแตกต่างกันระหว่างแต่ละเครื่อง แล้วค่อยส่งข้อมูลออกมาใหม่
5. จงสรุปความหมายของ Server และ Client มาพอเข้าใจ
ตอบ. Server คือเครื่องแม่ข่ายที่ทำหน้าที่ให้บริการข้อมูลสำหรับเครื่องอื่นๆที่อยู่ในเครือข่าย มักมีหน้าที่และชื่อเรียกที่แตกต่างกันแล้วแต่การลักษณะการให้บริการ เช่น mail server, file server, web server,
pint server หรือ database server เป็นต้นClient คือเครื่องลูกข่ายที่อยู่ในระบบ มีหน้าที่ร้องขอหรือเรียกใช้บริการจากเครื่องแม่ข่ายเพื่อทำงานหรือขอข้อมูลบางอย่างนั่นเอง
6. HUB คืออะไร เอามาใช้ประโยชน์ได้อย่างไรกับระบบเครือข่าย
ตอบ. ตัวรวมสายซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นมากในการต่อ LAN โดยสามารถโยกย้ายสาย สลับเครื่องหรือเพิ่มจำนวนเครื่องได้ เนื่องจากสายทั้งหมดจากทุกเครื่องจะลากมารวมอยู่ที่เดียวกันหมด โดยเราอาจทำเป็นตู้หรือห้องไว้เก็บสายให้เรียบร้อยด้วยก็ได้ อาจมีจำนวนพอร์ตเพื่อใช้สำหรับต่อสายต่างกันได้ในแต่ละตัว เช่น 5, 8, 10, 16 และ 24 พอร์ตหรือมากกว่านั้น เป็นต้น
7. จงยกตัวอย่างมาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูงพร้อมทั้งอธิบายมาพอเข้าใจ
ตอบ. มาตรฐานของ Ethernet ความเร็วสูง มีดังต่อไปนี้
-100Base-T เป็นระบบที่พัฒนาต่อจาก Ethernet โดยใช้สายที่ดีขึ้นกว่าเดิม คือสาย UTP แบบ Category 5
หรือดีกว่า การต่อนั้นใช้ hub ที่ทำมาให้รองรับความเร็ว 100 Mbps ด้วยเท่านั้น
-Gigabit Ethernet หรือเรียกกันเป็น 1000Base-T (สาย UTP) หรือ 1000Base-F (สาย Fiber optic) สามารถส่งข้อ
มูลได้ในระดับความเร็ว 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความเร็วสูงมาก เช่น งานกราฟฟิก หรือใช้เชื่อมต่อตรงช่วงที่เข้าเครื่องเซิร์ฟเวอร์เพื่อให้สามารถรับงานจากเครื่องอื่นๆได้มากพร้อมกัน สายที่ใช้อาบพบเห็นได้ทั้งแบบ UTP (ความยาวไม่มากนัก) และแบบไฟเบอร์ออพติก
-Gigabit Ethernet เป็นเทคโนโลยีที่สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบอื่นๆ คือทำได้ถึง 10,000 Mbps หรือ 10 Gbps นิยมใช้สำหรับเชื่อมต่อกับหน่วยงานขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกันระหว่างเมือง หรือ WAN เป็นต้น
8. จงบอกลักษณะโดยทั่วไปของสายแบบโคแอกเชี่ยล
ตอบ. สายเส้นเดี่ยวแบบที่มีเปลือกเป็นสายโลหะถัก (shield) เพื่อป้องกันคลื่นรบกวน โดยมากใช้กับเครือข่ายแบบ Ethernet ดั้งเดิมซึ่งสามารถใช้ต่อเชื่อมระหว่างแต่ละเครื่องโดยตรงในลักษณะที่ไม่ต้องมีอุปกรณ์รวมสายเข้ามาช่วย ปัจจุบันเริ่มใช้กันน้อยลงเพราะถูกทดแทนด้วยสายแบบอื่นที่มีราคาถูกและทำความเร็วได้ดีกว่า
9. จงบอกถึงหน้าที่หลักของอุปกรณ์ Router
ตอบ. Router จะทำงานเสมือนเป็นเครื่องหรือ node หนึ่งใน LAN ที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทางที่ต้องการ หน้าที่หลักของ router คือหาเส้นทางที่ดีที่สุดในการส่งต่อข้อมูลต่อไปยังเครือข่ายอื่นซึ่งอาจใช้สื่อสัญญาณหลายแบบแตกต่างกันได้ โดยมีการแปลงหรือจัดรูปข้อมูลตามแบบของเครือข่ายที่จะส่งต่อนั้นด้วย
อ้างอิง: http://il253-taweesin.blogspot.com/

วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่ 9เรื่องระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นการนำคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องมาเชื่อมต่อให้เข้ากัน เพื่อสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูล
ข่าวสารร่วมทั้งการใช้ทรัพย์ยากรบ้างอย่างร่วมกัน แต่ข้อมูลจำกัดบางประการคือ การใช้ข้อมูลทำได้ช้า ไม่สามารถใช้ได้ทันทีและอยากต่อการควบคุมดูแลในบางกรณี ระบบเครือข่ายโดยทั่วไปแบ่งออกกว้างๆเป็น2ลักษณะคือ LAN และ WAN และองค์ประกอบเครือข่ายประกอบด้วยอุปกรณ์ฮารด์แวร์ ซอฟแวร์ และตัวกลางนำข้อมูล
เครือข่ายแบบไร้สาย คือเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุในการรับส่งข้อมูล ซึ่งมีประโยชน์คือไม่ต้องเดินสายเหมือน LAN แบบอื่น เหมาะกับการใช้งานในบ้านหรือเป็นที่ไม่สะดวกเดินสาย แต่จะทำความเร็วได้ต่ำกว่าแบบใช้สายหลายเท่า
การจัดแบ่งหน้าที่ในการทำงานคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่2แบบใหญ่ๆคือpeer-to-peer ซึ่งทุกเครื่องจะมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกันและแบบ Server-based ซึ่งมีเครื่องทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์หรือผู้ให้บริการแก่เครื่องอื่นๆหรือที่เรียกว่า ไคลเอนต์

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6 เรื่องข้อมูลและการจัดการข้อมูล

1.คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ คุณสมบัติพื้นฐานของข้อมูลที่ดี มีดังต่อไปนี้
- ความถูกต้อง
จำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริงหรือถูกต้องตรงกันกับแหล่งข้อมูลนั้น
- มีความเป็นปัจจุบัน
ข้อมูลที่ทันสมัยมาใช้ในการประมวลผลจะทำให้ได้ข้อมูลที่มีประโยชน์อย่างแท้จริง
- ตรงตามความต้องการ
ข้อมูลที่ถูกต้องแต่ไม่ตรงกับความต้องการก็ถือว่าเป็นข้อมูลที่ใช้ไม่ได้
- ความสมบูรณ์
ข้อมูลที่ดีต้องมีความครบถ้วนสมบูรณ์
- สามารถตรวจสอบได้
ข้อมูลที่ดีควรตรวจสอบแหล่งที่มาหรือหลักฐานอ้างอิงได้



2.ไฟล์หรือแฟ้มตารางข้อมูลคืออะไร
ตอบ. คือ การนำเอาข้อมูลหลายๆเรคอร์ดที่ต้องการจัดเก็บมาเรียงอยู่ในรูปแบบของแฟ้มตารางข้อมูล
เดียวกัน

3.ข้อมูลปฐมภูมิและข้อมูลทุติยภูมิ แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ. ข้อมูลปฐมภูมิ (primary data) เป็นข้อมูลที่มีการเก็บหรือรวบรวมก่อนครั้งแรก เพื่อนำไปประมวล
ผลให้เกิดเป็นข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) ในภายหลัง ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่ออีกได้

4.ในแง่ของการจัดการข้อมูลนั้น ข้อมูลมีโอกาสซ้ำกันได้หรือไม่ จะมีวิธีแก้ไขได้อย่างไร
ตอบ. ข้อมูลอาจมีการซ้ำกันเกิดขึ้นได้อยู่เสมอในบางฟีลด์ เช่น ชื่อสินค้า ชื่อตัว หรือนามสกุล
อาจมีการใช้ที่ซ้ำกันได้ การแก้ไขในเรื่องการจัดการข้อมูลคือ สร้างคีย์ฟีลด์เพื่อใช้อ้างอิง
หรือระบุข้อมูลโดยเฉพาะ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการอ้างอิงข้อมูลที่ผิดซึ่งทำให้สะดวก
และมีประสิทธิภาพมากกว่า คีย์ฟีลด์ในตารางแฟ้มข้อมูลจะเป็นตัวอ้างอิงหรือระบุเรคอร์ด
ที่ต้องการได้ ปกติจะเลือกฟีลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำกันเลย เช่น ฟีลด์รหัสนักศึกษา
ฟีลด์รหัสสินค้า เป็นต้น

5.การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่ง่ายและเป็นพื้นฐานมากที่สุด คือแบบใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ โดยจะเรียงลำดับเรคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆการอ่าน
หรือค้นคืนข้อมูลจะข้ามลำดับไปอ่านโดยตรงไม่ได้ เมื่อต้องการอ่านข้อมูลที่เรคอร์ดใดๆ โปรแกรม
จะเริ่มอ่านข้อมูลตั้งแต่เรคอร์ดแรกไปเรื่อยๆจนกว่าจะพบเรคอร์ดที่ต้องการอ่าน จึงจะเรียก
ค้นคืนเรคอร์ดนั้นขึ้นมา

6.โครงสร้างแฟ้มข้อมูลแบบสุ่มสามารถทำงานได้เร็ว เป็นเพราะเหตุใด จงอธิบาย
ตอบ. การอ่านข้อมูลในเรคอร์ดใดๆสามารถเข้าถึงได้โดยตรง สามารถเลือกหรืออ่านค่าได้โดยทันที
ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีในสื่อประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสก์เก็ตต์หรือฮาร์ดดิสก์

7.เหตุใดจึงต้องนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการทำงาน จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. เพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับการทำงานที่ต่างคนต่างจัดเก็บข้อมูลแยกกันให้สามารถทำงาน
ร่วมกันได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น โดยจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลกลาง เช่นแต่เดิมข้อมูลที่อยู่ลูกค้า
ของฝ่ายขายและฝ่ายการเงินต่างก็แยกเก็บกันเอง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ที่อยู่ของ
ลูกค้า เกิดขึ้น จึงไม่รู้ว่าจะใช้ที่อยู่ใดในการติดต่อดี เพราะฝ่ายหนึ่งอาจมีการแก้ไขให้เป็น
ค่าที่อยู่ในปัจจุบันแล้ว แต่อีกฝ่ายหนึ่งอาจไม่ทราบและไม่มีการแก้ไขใดๆ หากจะติดต่อกับ
ลูกค้าจริงๆอาจมีปัญหาขึ้น แต่เมื่อนำเอาระบบฐานข้อมูลมาใช้ จึงช่วยลดปัญหาเหล่านี้
ลงไปได้

8. ความซ้ำซ้อนกันของข้อมูล (data redundancy) คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ. คือการจัดเก็บข้อมูลไว้แยกกันหลายที่ ข้อมูลที่ต้องการจึงอาจมีบางส่วนที่ซ้ำกันได้
กล่าวคือมีข้อมูลชุดเดียวกันถูกจัดเก็บใน 2 แฟ้มข้อมูลหรืออาจมากกว่านั้น ทำให้
เปลืองพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลโดยเปล่าประโยชน์ และเมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้น อาจจำเป็นต้องตามไปแก้ไขทุกๆแฟ้มที่จัดเก็บแยกกันอีกเพื่อ
ให้ตรงกัน จึงทำให้เสียเวลาเป็นอย่างมาก

9.DBMS มีประโยชน์อย่างไรต่อการใช้งานฐานข้อมูล
ตอบ. เป็นเสมือนตัวกลางที่อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งานฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดีโดยที่ไม่จำ
เป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากก็สามารถดูแลรักษา
ฐานข้อมูลได้ รวมถึงควบคุมการเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ด้วยอีกทั้งยังทำให้การค้นคืนข้อมูลต่างๆ
สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ซึ่งมักจะมีภาษาการจัดการกับข้อมูลโดยเฉพาะเป็นของตนเอง

สรุปบทที่ 6ข้อมูลและการจัดการข้อมูล

ข้อมูลสำหรับการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์นั้น อาจได้มาจากแหล่งข้อมูลภายในหรือภายนอกองค์กร ซึ่งควรมีคุณสมบัติพื้นฐานประกอบด้วย ความถูกต้อง มีความเป็นปัจจุบัน ตรงตามความต้องการ มีความสมบูรณ์และสามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ในการจัดการกับข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ จะมีการจัดแบ่งข้อมูลออกเป็นลำดับชั้นเพื่อง่ายต่อการเรียกใช้ เช่นบิด ไบต์ ฟิลด์ เรคอร์ด ไฟล์
โครงสร้างข้อมูลที่จัดเก็บไว้บนสื่อบันทึกข้อมูลสำรองมีอยู่ 3 ลักษณะคือ แบบเรียงลำดับ แบบสุ่มและแบบเชิงดรรชนี การเลือกใช้ต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน สำหรับแฟ้มข้อมูลโดยทั่วไปนั้นจะแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ แฟ้มหลัก ซึ่งเป็นแฟ้มข้อมูลหลักที่มีความถี่ของการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไม่บ่อยมากนัก และอีกประเภทหนึ่งคือ แฟ้มรายการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเป็นแฟ้มที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขรายการข้อมูลภายในค่อนข้างบ่อยและทำแบบประจำต่อเนื่องหรือเกิดขึ้นทุกวัน
ข้อมูลจำนวนมากที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน จะถูกเก็บรวบรวมไว้ที่เดียวกัน เรียกว่า “ฐานข้อมูล” ซึ่งให้การประมวลผลมีความสะดวกและง่ายยิ่งขึ้นโดยมีแนวคิดที่จะจัดการกับข้อมูลเพื่อลดการซ้ำซ้อน ลดความขัดแย้ง รักษาความคงสภาพ อำนวยความสะดวกในการใช้ข้อมูล ง่ายต่อการเข้าถึงและลดระยะเวลาพัฒนาระบบงานเครื่องมือสำหรับการจัดการฐานข้อมูลนั้น เรียกว่า “DBMS” ซึ่งเป็นเสมือนผู้จัดการฐานข้อมูลที่จะดูแลและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้โดยไม่จำเป็นต้องทราบถึงโครงสร้างทางกายภาพของข้อมูลในระดับที่ลึกมากแต่อย่างใด
อ้างอิง: หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

แบบฝึกหัดบทที่ 5 เรื่องระบบปฏิบัติการและหลักการทำงาน

1. cross-platform application คืออะไร จงอธิบาย
โปรแกรมประยุกต์ที่สนับสนุนการทำงานบนระบบปฏิบัติการได้หลายๆตัว ซึ่งทำให้การใช้งานมี
ความหลากหลายมากขึ้น เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์อาจจะมีการติดตั้งระบบปฏิบัติการที่ไม่เหมือนกัน
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อให้ทำงานข้ามแพลตฟอร์มหรือข้ามระบบปฏิบัติการได้ จึงเป็นทางเลือก
ให้กับผู้ใช้ได้ได้ดีพอสมควร
2. device driver มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงานกับคอมพิวเตอร์
มีประโยชน์ในการช่วยให้คอมพิวเตอร์รู้จักกับอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหลายที่เชื่อมต่อเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่ง
จะทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ชนิดนั้นราบรื่นและสามารถทำงานได้อย่างไม่
ติดขัด เมื่อถอด ย้ายหรือติดตั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงนั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใหม่อีก ก็สามารถใช้
device driver นี้ติดตั้งเพื่อให้เครื่องอื่นๆรู้จักและติดต่อสื่อสารได้อีกเช่นกัน ปกติผู้ผลิตจะแนบตัว
โปรแกรมเหล่านี้มาพร้อมกับการซื้ออุปกรณ์แล้วในครั้งแรก
3. เสียงสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ตอบสนองออกมาสั้นบ้าง ยาวบ้างนั้นเกิดจาก กระบวนการในขั้นตอนใด และเหตุ จึงต้องทำเช่นนั้น
เกิดขึ้นในช่วงขั้นตอนที่เรียกว่า POST หรือ power on self test เพื่อตรวจสอบความพร้อมของ
อุปกรณ์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ด แรม ซีพียูรวมถึงอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เช่น
คีย์บอร์ดหรือเมาส์ โดยจะส่งสัญญาณเป็นเสียงสั้นยาวต่างกัน เมื่อพบว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้น
4.ประเภทของการบู๊ตเครื่องมีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ซึ่งอธิบายได้ดังนี้
- โคลบู๊ต (cold boot)
เป็นการบู๊ตเครื่องที่อาศัยการทำงานของฮาร์ดแวร์ โดยการกดปุ่มเปิดเครื่อง (power on) แล้วเข้าสู่
กระบวนการทำงานโดยทันที ปุ่มเปิดเครื่องจะทำหน้าที่เหมือนเป็นสวิตช์ปิดเปิดการทำงานโดยรวมของ
คอมพิวเตอร์ทั้งหมดเหมือนกับสวิตช์ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไป
-วอร์มบู๊ต (warm boot)
เป็นการบู๊ตเครื่องโดยทำให้เกิดกระบวนการบู๊ตใหม่หรือที่เรียกว่า การรีสตารท์เครื่อง (restart)
โดยมากจะนิยมใช้ในกรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้ สามารถทำได้ 3 วิธีด้วย
กันคือ
-กดปุ่ม Reset บนตัวเครื่อง
-กดปุ่ม C+a+d จากแป้นพิมพ์
- สั่งรีสตารท์เครื่องได้จากเมนูบนระบบปฏิบัติการได้เลย
5. จงบอกถึงความแตกต่างระหว่างส่วนประสานกับผู้ใช้แบบ Command line และแบบ GUI มาพอสังเขป
ผู้ที่มีความชำนาญในการใช้งานพอสมควร เนื่องจากต้องจดจำรูปแบบคำสั่งได้ดี สำหรับ
ส่วนประสานงานกับผู้ใช้แบบกราฟฟิกหรือ GUI จะสนับสนุนการทำงานแบบรูปภาพคำสั่งมากยิ่งขึ้น เพื่อ
ให้เกิดความสะดวกและไม่ยุ่งยากสำหรับผู้ใช้ โดยไม่จำเป็นต้องจำคำสั่งตัวอักษรเหล่านั้น ผู้ใช้เพียงแค่
เลือกรายการคำสั่งภาพที่ปรากฎบนจอ ก็สามารถสั่งการให้ทำงานได้ตามต้องการ
6.โครงสร้างแบบต้นไม้ คืออะไร เกี่ยวข้องกับโครงสร้างไฟล์ในคอมพิวเตอร์อย่างไรบ้าง
Treelike structure หรือโครงสร้างแบบต้นไม้ เป็นรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลแบบลำดับชั้น
นิยมใช้สำหรับการจัดการโครงสร้างไฟล์ในระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำโดยแยกออกเป็น
ส่วนๆเรียกว่า โฟลเดอร์ เหมือนเป็นกิ่งก้านและแตกสาขาไปได้อีก
7.. ส่วนประกอบย่อยของไฟล์ประกอบด้วยส่วนใดบ้าง จงยกตัวอย่างไฟล์มาอย่างน้อย 5 รูปแบบพร้อมทั้งอธิบาย
ด้วยว่าแต่ละรูปแบบมีความหมายเช่นไร
ประกอบด้วยส่วนย่อย 2 ส่วน คือ ชื่อไฟล์ (naming files) และส่วนขยาย (extentions) ยกตัวอย่าง
ไฟล์ 5 รูปแบบได้ดังนี้
- myprofile.doc
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า myprofile นามสกุลหรือส่วนขยายคือ doc ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทเอกสารงาน
นั่นเอง (document)
-report.xls
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า report นามสกุลหรือส่วนขยายคือ xls ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทตารางคำนวณ
พบเห็นได้กับการใช้งานในโปรแกรม Microsoft Excel
- present.ppt
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า present นามสกุลหรือส่วนขยายคือ ppt เป็นไฟล์ที่ใช้สำหรับงานนำเสนอ
ข้อมูล สร้างจากโปรแกรม Microsoft Powerpoint
- about.htm
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า about นามสกุลหรือส่วนขยายคือ htm ซึ่งเป็นไฟล์ที่เขียนด้วยภาษา HTML
ที่ใช้สำหรับการแสดงผลบนเว็บเพจ
- message.txt
ไฟล์ที่ใช้เรียกมีชื่อว่า message นามสกุลหรือส่วนขยายคือ txt ซึ่งเป็นไฟล์ประเภทข้อความ มัก
สร้างจากโปรแกรมประเภท editor ทั่วไป
8..หน่วยความจำเสมือนเกี่ยวข้องกับการจัดการหน่วยความจำอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
หน่วยความจำเสมือนหรือ virtual memory จะเป็นหน่วยความจำที่ทำงานเหมือนกับ RAM โดยใช้
เนื้อที่ส่วนของหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุมากกว่า มาเก็บของส่วนงานทั้งหมดไว้
เพื่อเอามาช่วยการทำงานของ RAM เมื่อต้องประมวลผลงานที่มากขึ้น โดยจะแบ่งงานที่มีอยู่ออกเป็น
ส่วนๆเรียกว่า page ซึ่งจะมีขนาดที่แน่นอน เมื่อใดที่ต้องการประมวลผล ก็จะเลือกเอาเฉพาะเพจที่
ต้องการเข้าสู่หน่วยความจำ RAM จนกว่าข้อมูลใน RAM เต็ม จึงจะจัดการถ่ายเทข้อมูลดังกล่าวกลับไปไว้
ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เพื่อให้ RAM มีเนื้อที่เหลือว่างและทำงานต่อไปได้ ทำให้หน่วยความจำสามารถ
ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
9. spolling ที่เกิดขึ้นในการพิมพ์งาน มีหลักการอย่างไรบ้าง
หลักการจะอาศัยพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์ ใช้เก็บข้อมูลที่อ่านเข้ามาไว้ก่อนที่จะส่งไปที่เครื่อง
พิมพ์ เพราะการเก็บข้อมูลไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ก่อนจะทำได้เร็วกว่าการเขียนข้อมูลไปที่เครื่องพิมพ์โดยตรง ซึ่ง
ทำให้การทำงานสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะกับการพิมพ์งานพร้อมกันทีเดียวในสำนักงานทั่วไป เพราะ
สามารถจัดคิวเพื่อส่งพิมพ์ผลลัพธ์ได้ตามลำดับก่อนหลัง
10.ระบบ plug and play คืออะไร มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงาน
เ ป็นคุณสมบัติใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในระบบปฏิบัติการบางตัว เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อ
สารกับอุปกรณ์อื่นได้ง่ายยิ่งขึ้น ผู้ใช้เพียงแค่เชื่อมต่ออุปกรณ์เหล่านั้นเข้ากับคอมพิวเตอร์ (plug) ก็
สามารถใช้งานได้เลยทันที (play)
11.multi-processing คือการประมวลผลงานลักษณะใด มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง จงอธิบายพอสังเขป
เป็นการทำงานเพื่อให้ประมวลผลเร็วขึ้น โดยใช้ซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวเข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้
คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลายๆคำสั่งงานในเวลาเดียวกัน โดยที่ระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่เป็น
ตัวประสานการทำงานของซีพียูที่มากกว่าหนึ่งตัวนี้ให้ทำงานด้วยกันได้เป็นอย่างดี และถึงแม้ซีพียูตัวใด
ตัวหนึ่งเสีย ก็ยังสามารถทำงานแทนกันได้

http://science.yru.ac.th/~ppb/Computer_and_Information_Technology/chapter_05/key_chapter_05.pdf
สรุปบทที่ 5 ระบบปฏิบัติการและหลักการทำงาน
ระบบปฏิบัติการเป็นซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ โดยจะทำงานกับโปรแกรมประยุกต์และจัดการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆที่ต่ออยู่ในระบบคอมพิวเตอร์นั้น
การบู๊ตเครื่อง เป็นขั้นตอนคอมพิวเตอร์เริ่มการทำงานโดยโหลดเอาระบบปฏิบัติการเข้าไปไว้ในหน่วยความจำประเภท RAM ซึ่งสามารถทำได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือโคลด์บู๊ต และวอร์มบู๊ต
ในการสั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ ผู้ใช้ต้องป้อนข้อมูลหรือชุดคำสั่งผ่านส่วนประสานงานกับผู้ใช้ ซึ่งแบ่งได้ 2 ประเภท คือแบบคอมมานด์ไลน์และแบบกราฟิก หรือ ( GUI ) โดยแบบหลังจะนิยมใช้ในระบบปฏิบัติการใหม่
ระบบปฏิบัติการยังมีความสามารถจัดในการจัดการไฟล์โดยอนุญาตให้ผู้ใช้ คัดลอก ย้าย ลบ หรือเปลี่ยน ชื่อไฟล์ต่างๆโดยสะดวก และมีการจัดลำดับโครงสร้างของไฟล์อออกเป็นลำดับชั้นเรียกว่า โครงสร้างแบบต้นไม้
นอกจากนั้นยังสร้างหน่วยความจำเสมือนไว้เสริมกับหน่วยความจำ RAM ขณะที่ทำงานกับข้อมูลจำนวนมากและกันพื้นที่ส่วนหนึ่งของฮาร์ดดิสก์เรียกว่า บัฟเฟอร์ สำหรับพักข้อมูลที่รับส่งกับอุปกรณ์นำเข้าและอุปกรณ์แสดงผลข้อมูลซึ่งโดยปกติจะทำงานช้ากว่าซีพียูมาก
อ้างอิง: หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

แบบฝึกหัดบทที่ 4 เรื่องฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

1 .คีย์บอร์ดแบบเออร์โกโนมิกส์ ช่วยลดปัญหาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างไร จงยกตัวอย่างประกอบ
คีย์บอร์ดลักษณะดังกล่าว ถูกออกแบบมาเพื่อลดปัญหาเกี่ยวกับอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อมือที่
สัมผัสกับคีย์บอร์ดอยู่ตลอดเวลา โดยมีแป้นรองรับการพิมพ์สัมผัสที่ง่ายและเบา มีแท่นวางมือและออก
แบบให้สัมพันธ์กับสรีระของแขนและมือให้ทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
2. ออปติคอลเมาส์มีหลักการทำงานแตกต่างจากเมาส์แบบทั่วไปอย่างไร
เมาส์แบบแสงหรือออปติคอลเมาส์จะทำงานได้โดยไม่ต้องใช้ล้อหมุนเหมือนกับเมาส์แบบทั่วไป
แต่จะใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง และมีวงจรภายในทำหน้าที่วิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไป เมื่อ
มีการเลื่อนเมาส์ จากนั้นจะแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่งในที่สุด ซึ่งปัจจุบันมีทั้งที่เป็นแบบต่อกับ
คอมพิวเตอร์โดยใช้สายและแบบไม่ใช้สาย
3. OMR คืออะไร จงอธิบายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบของลักษณะงานที่นำไปใช้
เครื่องมือที่ใช้สำหรับอ่านหรือตรวจสอบคะแนนจากกระดาษคำตอบชนิดพิเศษ หรือชื่อเต็มว่า
Optical Mark Reader มักนำไปใช้กับการตรวจข้อสอบหรือคะแนนของกลุ่มบุคคลจำนวนมาก เช่น การ
สอบเอ็นทรานซ์ การสอบวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษ การสอบเข้ารับราชการของสำนักงาน ก.พ.
โดยจะทำการอ่านเครื่องหมายที่ผู้เข้าสอบได้ทำการระบายไว้ในกระดาษคำตอบที่ออกแบบมาพิเศษ
4. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถือว่าเป็น หัวใจหลักของเครื่องพีซีทุกเครื่อง คืออุปกรณ์ใด เหตุใดจึงเรียกเช่นนั้น
เมนบอร์ด คืออุปกรณ์ที่เป็นเสมือนหัวใจหลักของเครื่องพีซี เนื่องจากเป็นแผงควบคุมวงจรการ
เชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคอมพิวเตอร์เกือบทั้งหมด จะขาดไปเสียมิได้ ความสามารถ
ของเครื่องว่าจะใช้ซีพียูอะไรได้บ้าง มีประสิทธิภาพเพียงใด สามารถรองรับกับอุปกรณ์ใหม่ๆได้หรือไม่นั้น
จึงล้วนแล้วแต่ขึ้นอยู่กับเมนบอร์ดที่เลือกใช้ทั้งสิ้น
5.หน่วยเก็บข้อมูลสำรองแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง จงยกตัวอย่างมาประเภทละ 2 รายการ
สามารถแบ่งออกได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 4 ประเภทดังนี้
- แบบจานแม่เหล็ก
เป็นอุปกรณ์สำรองข้อมูลที่เป็นลักษณะของจานแม่เหล็กสำหรับบันทึกข้อมูลไว้ภายใน (disk) ได้รับ
ความนิยมและใช้งานมานานพอสมควร ที่รู้จักกันดี เช่น ฟล็อปปีดิสก์และฮาร์ดดิสก์
- แบบแสง
เป็นสื่อเก็บข้อมูลสำรองที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน โดยใช้หลักการทำงานของแสง การจัด
เก็บข้อมูลจะคล้ายกับแผ่นจานแม่เหล็กต่างกันที่การแบ่งจะเป็นรูปก้นหอยและเริ่มเก็บบันทึกข้อมูล
จากส่วนด้านในออกมาด้านนอก ที่เป็นที่นิยมและรู้จักกันดี เช่น CD และ DVD เป็นต้น
-แบบเทป
เป็นสื่อเก็บข้อมูลที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากและเข้าถึงข้อมูลแบบเรียงลำดับต่อเนื่อง
กันไป มีการผลิตขึ้นมาหลายขนาดแตกต่างกันไป เช่น DAT และ QIC เป็นต้น
- แบบอื่นๆ
เป็นสื่อเก็บข้อมูลแบบใหม่ที่พบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น flash drive,
thumb drive หรือ handy drive เป็นต้น อีกชนิดหนึ่งอาจพบเห็นในรูปของแผ่น memory card เพื่อ
ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูลประเภทภาพถ่ายหรือข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ในอุปกรณ์ดิจิตอลแบบพกพาทั้ง
หลาย เช่น กล้องถ่ายรูปดิจิตอล เป็นต้น
6 .แทรคและเซกเตอร์ในสื่อเก็บข้อมูลจานแม่เหล็กคืออะไร
พื้นที่เก็บข้อมูลบนแผ่นจานแม่เหล็ก โดยที่แทรคจะเป็นลักษณะของพื้นที่แนววงกลมรอบๆแผ่น
จาน จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและประเภทของจานแม่เหล็กนั้นด้วย ซึ่งแผ่นแต่ละแผ่นจะมีความ
หนาแน่นของสารแม่เหล็กแตกต่างกันทำให้ปริมาณความจุจึงต่างกันด้วย ส่วนเซกเตอร์นั้น เป็นส่วนของ
แทรคที่แบ่งย่อยออกมาเป็นส่วนๆ หากเปรียบเทียบแผ่นจานแม่เหล็กเป็นคอนโดมิเนียมหลังหนึ่งแล้ว
เซกเตอร์ก็เปรียบเหมือนกับห้องพักที่แบ่งให้คนอยู่เป็นห้องๆนั่นเอง
7.แผ่นดิสก์เก็ตต์แผ่นหนึ่งเก็บข้อมูลได้ 2 ด้าน แต่ละด้านมี 80 แทรค แต่ละแทรคแบ่งได้ 9 เซกเตอร์ และแต่ละ
เซกเตอร์สามารถเก็บข้อมูลได้มากถึง 512 ไบต์ จงคำนวณหาความจุของแผ่นนี้
ความจุของแผ่นดิสก์เก็ตแผ่นนี้ สามารถคำนวณหาได้ดังนี้
ความจุของแผ่นดิสก์เก็ต = 2 X 80 X 9 X 512 bytes
= 737,280 bytes
= 720 KiB (737,280/1024)
หรือ = 737.28 KB (737,280/1000)
8.ดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์ มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ดิสเก็ตต์จะมีราคาถูกกว่ามาก แต่จะเก็บข้อมูลได้ไม่มากเท่ากับฮาร์ดดิสก์เพราะมีพื้นที่จานเก็บข้อ
มูลขนาดใหญ่กว่า ซึ่งประกอบด้วยจานหลายแผ่น ทำให้จำนวนแทรคและเซกเตอร์จึงมีมากตามไปด้วย
สำหรับการอ่านข้อมูลนั้น หัวอ่านข้อมูลของดิสเก็ตต์จะสัมผัสแผ่นจานทุกครั้งที่อ่าน แต่สำหรับการอ่านข้อ
มูลในฮาร์ดดิสก์หัวอ่านจะลอยอยู่เหนือแผ่นจาน ไม่มีการสัมผัสตัวแผ่นจานแต่อย่างใด
9.สื่อเก็บข้อมูลประเภท CD และ DVD มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง
สื่อเก็บข้อมูลแบบ CD จะเหมาะกับการเก็บข้อมูลทั่วไป เช่น ข้อมูลไฟล์การทำงาน ข้อมูล
โปรแกรมเพื่อใช้งาน รวมถึงบันทึกเสียงเพลง ส่วนแบบ DVD จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่าคือ เก็บข้อมูลได้เยอะ
มากยิ่งขึ้น สามารถจุมากสุดได้ถึง 17 GB จึงเหมาะสมกับการเก็บข้อมูลงานทางด้านมัลติมีเดียเพื่อให้
เกิดความสมจริงของทั้งภาพและเสียงมากที่สุดนั่นเอง
10.Point Of Sale คืออะไร
จุดบริการขายที่มักพบตามห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสะดวกซื้อทั่วไป โดยผู้ซื้อสามารถนำสินค้ามา
ชำระเงินยังจุดบริการขายนี้ได้ทันที ซึ่งระบบจะมีการจัดการเกี่ยวกับรายการซื้อขายเองโดยอัตโนมัติ
11.งานเกี่ยวกับการออกใบเสร็จรับเงิน การออกใบกำกับภาษีที่ต้องมีสำเนาหลายใบ ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบใด
เครื่องดังกล่าวมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ควรใช้เครื่องพิมพ์แบบดอทเมตริกซ์ เนื่องจากลักษณะงานคือการพิมพ์สำเนาหลายๆแผ่นในครั้ง
เดียว คุณสมบัติของเครื่องพิมพ์แบบนี้จะมีความเหมาะสมต่อการใช้งานแบบนี้มาก อีกทั้งยังช่วยให้
ประหยัดเวลาและสะดวกกว่าที่จะใช้เครื่องพิมพ์แบบอื่นเพื่อพิมพ์ครั้งละแผ่น หลักการทำงานจะอาศัยหัว
เข็มพิมพ์กระทบลงไปที่ตัวกระดาษโดยตรง เมื่อใช้กระดาษสำเนาซ้อนทับจึงให้ได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือน
กับแผ่นต้นฉบับ
12 .เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็คและแบบเลเซอร์ แตกต่างกันอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
เครื่องพิมพ์แบบอิงค์เจ็คอาศัยหลักการพิมพ์โดยใช้ผงหมึกพ่นลงไปบนกระดาษ มีทั้งหมึกสีและ
ขาวดำ เหมาะกับงานพิมพ์เอกสารที่ต้องการความสวยงาม เช่น ภาพถ่าย โปสการ์ด ปฎิทินหรือพิมพ์บน
กระดาษแบบพิเศษแล้วนำไปติดกับเสื้อผ้าหรือแก้วกาแฟ ส่วนเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ราคาอาจแพงกว่า
เนื่องจากให้ความคมชัดได้ดี หลักการทำงานจะอาศัยแสงเลเซอร์ยิงตกลงไปบนกระดาษ คล้ายกับการ
ทำงานของเครื่องถ่ายเอกสาร แต่มีข้อเสียคือไม่สามารถพิมพ์เอกสารที่เป็นแบบสำเนาได้ ปัจจุบันมีทั้งที่
http://science.yru.ac.th/~ppb/Computer_and_Information_Technology/chapter_04/key_chapter_04.pdf

สรุปบทที่ 4เรื่องฮาร์แวร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง

ฮาร์ดแวร์เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ มีที่ติดตั้งอยู่ภายในและ ภายนอกตัวเครื่อง สามารถแบ่งออก4ประเภท คือ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้ อุปกรณ์ประมวลผล หน่วย เก็บข้อมูลสำรองและอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์
อุปกรณ์นำข้อมูลเข้าสามารถแบ่งหลายประเภท เช่น กด ชี้ตำแหน่ง ปากกา มัลติมีเดีย หรือการใช้การสแกน ส่วนอุปกรณ์ประมวลผลที่เปรียบเสมียนหัวใจของพีซีทั่วไปคือ เมนบอร์ด และซีพียู ที่ทำหน้าที่เหมือนกับเป็นสมอง ส่วนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่รู้จักกันดีมีหลายประเภท เช่น จานแม่เหล็ก สื่อเก็บแบบแสง เทป หรือหน่วยความจำแบบแฟลช สำหรับอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์นั้นอาจจำแนกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ แสดงผลลัพธ์หน้าจอพิมพ์งาน และขับเสียง
อ้างอิง: หนังสือ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

วันพฤหัสบดีที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2554

สรุปบทที่3

ซอฟต์แวร์เป็นกลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ สามารกจำแนกได้ 2ประเภทใหญ่คือซอฟแวร์ระบบและซอฟแวร์ประยุกต์ ระบบปฏิบัติการถือเป็นซอฟแวร์ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและกับการดูแลระบบคอมพิวเตอร์โดยรวมทั้งหมด โดยมีคูณสมบัติในการทำงานในแบบต่างๆ เช่นทำงานหลายงานได้ สามารถแบ่งงานเป็นส่วนย่อยได้หลายๆส่วนแล้วทำงานร่วมกัน หรือรองรับผู้ใช้ได้หลายคน สำหรับซอฟต์แวร์ประยุกต์นั้นแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ แบ่งตามลักษณะการผลิตและตามกลุ่มการใช้งาน ซึ่งมีผู้ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก การเลือกซอฟแวร์เพื่อนำมาใช้
ภาษาคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น5ยุกต์ด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ยุคแรกใช้ภาษาเครื่อง ซึ่งถือว่าเป็นภาษาระดับตำ และพัฒนามาเป็นภาษาของมนุษย์มากยิ่งขึ้นหรือเรียกว่า ภาษาดับสูง ในยุคที่สาม แต่การเขียนโปรแกรมที่ซับซ้อนมากขึ้น จำเป็นต้องใช้ความชำนาญมากพอ จึงได้มีการพัฒนา ภาษาระดับสูงมาก สำหรับช่วยเหลือในการเขียนโปรแกรมอีกครั้งในยุคที่สี่ และมีแนวโน้มจะใช้ภาษาที่ใกล้เคียงกับมนุษย์มากขึ้นไปอีก เรียกว่า ภาษาธรรมชาติในยุคที่ห้า
แบบฝึกหัดบทที่ 3 เรื่องซอฟต์และภาษาคอมพิวเตอร์

1.ซอฟต์แวร์ประยุกต์เกี่ยวข้องกับระบบปฏิบัติการอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ หรือ application software จะถูกติดตั้้้้งและทำงานบนระบบปฏิบัติการเพื่อให้
สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ มีทั้งประเภทสามารถหาซื้อมาใช้ได้เองตามท้อง
ตลาดและพัฒนาขึ้นมาใช้ได้เองเฉพาะกรณี

2.ระบบปฏิบัติการโดยทั่วไป มีกี่ประเภท จงยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ. สามารถแบ่งออกได้ 3 ปรเภท
- ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว
นิยมใช้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานแบบทั่วไป เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้านหรือ
สำนักงาน ซึ่งจะถูกติดตั้งระบบปฏิบัติการนี้ไว้รองรับการทำงานบางอย่าง เช่น พิมพ์งาน
ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น
- ระบบปฏิบัติการแบบเครืองข่าย
มุ้งเน้นการให้บริการกับผู้ใช้หลายๆ คนนิยมใช้สำหรับการประมวลผลงานข้อมูลสำหรับ
เครือข่ายโดยเฉพาะ มักพบเห็นได้กับการนำไปใช้ในองค์กรธุรกิจทั่วไป เครื่องคอมฯ
ที่ติดตั้งระบบปฏิบัติการเหล่านี้จะเรียกว่า เครื่องแม่ข่าย
- ระบบปฏิบัติการแบบฝัง
มักพบเห็นได้กับอุปกรณ์พกพาขนาดเล็ก เช่น พีดีเอ หรือ สมาร์ทโฟน บางรุ่นสามารถช่วย
ในการทำงานแบบเคลื่อนที่ได้ดี เป็นระบบที่เกิดขึ้นมาหลังสุด บางรุ่นระบบมีคุณสมบัติใกล้
เคียงกับระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว เช่น รองรับการทำงานทั่วไป ดูหนัง ฟังเพลง

3.Symbian OS คืออะไร นิยมใช้กับอุปกรณ์ประเภทใด
ตอบ. เป็นระบบปฏิบัติการชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับกับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สายโดย
เฉพาะอย่างยิ่งกับอุปกรณ์ประเภทสมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นโทรศัพท์ที่มีความสามารถหลากหลาย ไม่ใช่
โทรเข้า-ออกได้แต่เพียงอย่างเดียว ยังสามารถ ดูหนัง ฟังเพลง ท่องเวบรับอีเมล์และรับส่งแฟกซ์ได้
ในเวลาเดียวกันอีกด้วย

4.โปรแกรมป้องกันไวรัส มีความสำคัญอย่างไรกับการใช้งานกับคอมพิวเตอร์
ตอบ. เป็นโปรแกรมยูทิลิตี้ชนิดหนึ่งที่ใช้สำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ได้เป็นอย่างดีซึ่งจะทำหน้าที่เป็น
เสมือนยามคอยตรวจสอบดูแลระบบทั่วไปว่ามีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีโปรแกรมนี้มันก็จะฟ้อง
ขึ้น เราก็สามารถลบทิ้งได้ทันที เพื่อความราบรื่นในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์

5.ซอฟต์แวร์กลุ่มการใช้งานด้านธุรกิจประเภท Word Processing ที่นักศึกษารู้จักมีอะไรบ้าง จงยกตัวอย่างประกอบ 3 โปรแกรม
ตอบ. 1 Microsoft office Word
2 Microsoft office Excel
3 Microsoft office PowerPoint

6.ซอฟต์แวร์แบบกลุ่ม (Software Suite) คืออะไ์ร
ตอบ. คือซอฟต์แวร์ที่นำเอาคุณสมบัติต่าง ๆ ของโปรแกรมแต่ละตัวมาจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วทำการ
จำหน่ายรวมกันทีีเดียว ซอฟต์แวร์กลุ่มนี้ที่รู้จักกันดีคือ Microsoft office,Adobe cs ฯลฯ ซึ่งมีการ
ใช้งา่นที่ง่ายขึ้นและราคาถูกลงกว่่าการแยกซื้อซอฟต์แวร์แต่ละตัวมาใช้อีกด้วย

7.Internet Ralay Chat คืออะไร แตกต่างต่าง Instant Messaging อย่างไรบ้าง
ตอบ. เป็นโปรแกรมประเภทที่ใช้สำหรับสนทนากลุ่ม โดยผู้ใช้งานสามารถเลือกกลุ่มที่จะสนทนาได้ตาม
ต้องการสามารถตอบโต้กันได้ด้วยข้อความและคนอื่นในห้องสนทนาสามารถเห็นข้อความนั้นด้วย
พร้อมๆกันหมดเหมือนกับการพูดคุยในที่สาธารณะ นอกจากนั้นยังสามาำรถเลือกการสนทนาเพียง
รายคนได้ แต่โปรแกรมประเภทส่งข้อความด่วนหรือ Instant Messaging อาจมีวัตถุประสงค์ของ
การใช้งานที่แตกต่างจาก Internet Ralay Chat บ้างคือ มุ้งเน้นใช้งานเพื่อส่งหรือฝากข้อความตาม
ที่ต้องการได้แบบทันทีและนิยมใช้สนทนากันแบบรายบุคคลมากกว่า

8. โปรแกรมประเภทการนำเสนองาน เหมาะสมกับกลุ่มคนประเภทใด จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ. เหมาะสมกับการนำเสนอขายสินค้าของนักขายมืออาชีพ ครู อาจารย์ หรือวิทยากรที่ต้องการนำ
เสนองานให้มีความโดดเด่านและน่าสนใจ เนื่องจากสามารถใส่เทคนิคการนำเสนอผลงงานต่าง ๆ
เข้าไปได้มากกว่าทำให้ผู้รับชมสร้างการจดจำได้ง่ายกว่า

9.ในการเรียกค้นข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โปรแกรมใดที่นิยมเอาใช้มากที่สุด และมีคุณสมบัติเด่นๆอะไรบ้าง
ตอบ. โปรแกรมประเภทบราวเชอร์ จะถูกนำมาใช้ในการค้นหาข้อมูลบนอนเทอร์เน็ตมากที่สุด โดยสามารถ
แสดงผลลัพธ์ออกมาได้ทั้งที่อยู่ในรูปของตัวอักษรธรรมดา ภาพกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว รวมถึง
ข้อมูลประเภทเสียง

10.ซอฟต์แวร์ประเภท Open Source คืออะไร
ตอบ. คือกลุ่มของซอฟต์แวร์ที่มีการเปิดเผยโค้ดที่ใช้สำหรับเขียนให้คนทั่วไปสามารถนำเอาไปใช้หรือ
พัฒนาต่อได้โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อแต่อย่างใด ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดด้วย ซึ่งโค้ด
ที่ได้มานั้นมาจากการพัฒนาด้วยทีมงานที่หลากหลายทั่วโลก โดยไม่หวังถึงค่าตอบแทนแต่อย่าง
ใด

11.ภาษาระดับสูงมาก หรือ very-high level language มีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง
ตอบ. ภาษาการเขียนโปรแกรมกลุ่มนี้จะช่วยให้รูปแบบการเขียนโปรแกรมทำได้ง่ายขึ้น โดยอาจใช้เพียง
แค่หยิบหรือวางปุ่มคำสั่งบางอันลงไป โดยผู้เขียนอาจจะรู้เพียงว่าจะให้คอมพิวเตอร์ทำอะไรบ้าง
ไม่จำเป็นต้องทราบว่ามันจำทำได้อย่างไร เพราะถือเป็นหน้าที่ของภาษาระดับสูงมากนั้นจะคอยจัด
การแทนเอง ทำให้สร้างคำสั่งหรือรูปแบบหลักๆ ได้ง่ายไ ไม่ต้องเสียเวลาในการอบรมการเขียน
โปรแกรมมากนัก เพียงแต่ใช้ความรู็พื้้นฐานในการเขียนเพียงเล็กน้อย ก็สามารถเอามาใช้ได้เลยทัน
ที



กลับ